เมนู

แม้เมื่อมีสรีระและคุณเท่ากัน ก็พึงทราบว่า มีโทษน้อย เพราะกิเลสและ
ความพยายามอ่อน มีโทษมาก เพราะกิเลสและความพยายามแรงกล้า.

ปาณาติบาตนั้น มีองค์ 5 คือ


1. ปาโณ สัตว์มีชีวิต
2. ปาณสญฺญิตา ตนรู้ว่าสัตว์มีชีวิต
3. วธกจิตฺตํ จิตคิดจะฆ่า
4. อุปกฺกโม มีความพยายาม ( ลงมือทำ )
5. เตน มรณํ สัตว์ตายด้วยความพยายามนั้น.

ปาณาติบาตนั้น มีประโยค 6 คือ


1. สาหัตถิกประโยค ประโยคที่ฆ่าด้วยมือตนเอง
2. อาณัตติกประโยค ประโยคที่สั่งให้คนอื่นฆ่า
3. นิสสัคคิยประโยค ประโยคที่ฆ่าด้วยอาวุธที่ชัดไป
4. ถาวรประโยค ประโยคที่ฆ่าด้วยอุปกรณ์ที่อยู่กับที่
5. วิชชามยประโยค ประโยคที่ฆ่าด้วยวิชา
6. อิทธิมยประโยค ประโยคที่ฆ่าด้วยฤทธิ์.
ก็เมื่อข้าพเจ้าจะพรรณนาเนื้อความนี้ให้พิสดาร ย่อมจะเนิ่นช้าเกิน
ไป ฉะนั้นจะไม่พรรณนาความนั้นและความอื่นที่มีรูปเช่นนั้นให้พิสดาร
ส่วนผู้ที่ต้องการพึงตรวจดูสมันตปาสาทิกาอรรถกถาพระวินัย ถือเอาความ
เถิด.
บทว่า ปหาย ความว่า ละโทษอันเป็นเหตุทุศีล นี้กล่าวคือ เจตนา
ทำปาณาติบาต. บทว่า ปฏิวิรโต ความว่างด คือเว้นจากโทษอันเป็นเหตุ

ทุศีลนั้น จำเดินแต่กาลที่ละปาณาติบาตได้แล้ว. พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น
ไม่มีธรรมที่จะพึงรู้ทางจักษุและโสดว่า เราจักละเมิดดังนี้ จะป่วยกล่าว
ไปไยถึงธรรมที่เป็นไปทางกายเล่า. แม้ในบทอื่น ๆ ที่มีรูปอย่างนี้ ก็พึง
ทราบเนื้อความโดยนัยนี้แหละ.
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงได้โวหารว่า สมณะ เพราะเป็นผู้มีบาป
สงบแล้ว. บทว่า โคตโม ความว่า ทรงพระนามว่า โคดม ด้วยอำนาจ
พระโคตร. มิใช่แต่พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์เดียวเท่านั้น ที่เว้นจาก
ปาณาติบาต แม้ภิกษุสงฆ์ก็เว้นด้วย แก่เทศนามีมาอย่างนี้ตั้งแต่ต้น แต่
เมื่อจะแสดงเนื้อความ จะแสดงแม้ด้วยสามารถแห่งภิกษุสงฆ์ก็ควร.
บทว่า นิหิตทณฺโฑ นิหิตสตฺโถ ความว่า มีไม้อันวางแล้ว และ
มีมีดอันวางแล้ว เพราะไม่ถือไม้หรือมีดไปเพื่อต้องการจะฆ่าผู้อื่น. ก็ใน
พระบาลีนี้ นอกจากไม้ อุปกรณ์ที่เหลือทั้งหมด พึงทราบว่า ชื่อว่ามีด
เพราะทำให้สัตว์ทั้งหลายพินาศได้. ส่วนไม้เท้าคนแก่ก็ดี ไม้ก็ดี มีดก็ดี
มีดโกนที่ภิกษุทั้งหลายถือเที่ยวไปนั้น มิใช่เพื่อต้องการจะฆ่าผู้อื่น ฉะนั้น
จึงนับว่า วางไม้ วางมีด เหมือนกัน.
บทว่า ลชฺชี ความว่า ประกอบด้วยความละอายอันมีลักษณะเกลียด
บาป. บทว่า ทยาปนฺโน ความว่า ถึงความเอ็นดู คือความเป็นผู้มีเมตตา-
จิต. บทว่า สพฺพปาณภูตหิตานุกมฺปี ความว่า อนุเคราะห์สัตว์มีชีวิต
ทั้งปวงด้วยความเกื้อกูล อธิบายว่า มีจิตเกื้อกูลแก่สัตว์มีชีวิตทุกจำพวก
เพราะถึงความเอ็นดูนั้น. บทว่า วิหรติ ความว่า เปลี่ยนอิริยาบถ คือ
ยังอัตภาพให้เป็นไป ได้แก่รักษาตัวอยู่.
คำว่า อิติ วา หิ ภิกฺขเว ความเท่ากัน เอวํ วา ภิกฺขเว วา

ศัพท์ ตรัสเป็นความวิกัป (แยกความ ) เล็งถึงคำว่า ละอทินนาทาน
เป็นต้นข้างหน้า. พึงทราบความวิกัป เล็งถึงคำต้นบ้าง คำหลังบ้าง ทุก
แห่งอย่างนี้.
ก็ในอธิการนี้ มีความย่อดังนี้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อปุถุชนจะ
กล่าวชมตถาคต พึงกล่าวอย่างนี้ว่า พระสมณโคดม ไม่ฆ่าสัตว์ ไม่ใช้
ให้คนอื่นฆ่า ไม่เห็นชอบในการฆ่าสัตว์ เป็นผู้เว้นจากโทษเป็นเหตุทุศีลนี้
น่าชมเชยแท้ พระคุณของพระพุทธเจ้ายิ่งใหญ่ ดังนี้ ถึงต้องการจะกล่าว
ชม ทำอุตสาหะใหญ่ ดังนี้ ก็จักกล่าวได้เพียงอาจาระและศีลเท่านั้น ซึ่ง
เป็นคุณมีประมาณน้อย จักไม่สามารถกล่าวพระคุณอาศัยสภาพอันไม่ทั่วไป
ยิ่งขึ้นได้เลย และมิใช่แต่ปุถุชนอย่างเดียวเท่านั้นที่ไม่สามารถ แม้พระ
โสดาบัน พระสกทาคามี พระอนาคามี และพระอรหันต์ แม้พระ
ปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลายก็ไม่สามารถเหมือนกัน แต่ตถาคตเท่านั้นสามารถ
เราจักกล่าวความข้อนั้นแก่เธอทั้งหลายในเบื้องหน้า. นี้เป็นพรรณนาเนื้อ
ความพร้อมทั้งอธิบายในพระบาลีนี้ . ต่อแต่นี้ไป เราจักพรรณนาตาม
ลำดับทีเดียว.
ในคำว่า ละอทินนาทานนี้ การถือเอาของที่เขาไม่ได้ให้ ชื่อ อทิน-
นาทาน มีอธิบายว่า การลักทรัพย์ของผู้อื่น คือความเป็นขโมย ได้แก่
กิริยาที่เป็นโจร. คำว่า ของที่เขาไม่ได้ให้ ในคำว่า อทินนาทานนั้น
ได้แก่ของที่เจ้าของหวงแหน คือ เป็นทรัพย์ที่ผู้อื่นใช้ให้ทำตามประสงค์
ย่อมไม่ควรถูกลงอาชญา และไม่ถูกตำหนิ. อนึ่ง เจตนาคิดลักอันเป็น
เหตุให้เกิดความพยายามที่จะถือเอาของที่เจ้าของหวงแหนนั้น ของบุคคล
ผู้มีความสำคัญในของที่เจ้าของหวงแหนว่า เป็นของที่เจ้าของหวงแหน
ชื่อว่า อทินนาทาน. อทินนาทานนั้น ลักของเลว มีโทษน้อย ลักของ

ดี มีโทษมาก. เพราะเหตุไร ? เพราะวัตถุประณีต. อทินนาทานนั้น เมื่อ
วัตถุเสมอกัน ชื่อว่ามีโทษมาก เพราะวัตถุเป็นของ ๆ ผู้ยิ่งด้วยคุณ ชื่อว่า
มีโทษน้อย เพราะวัตถุเป็นของ ๆ ผู้มีคุณน้อย ๆ กว่าผู้ยิ่งด้วยคุณนั้น ๆ.

อทินนาทานนั้น มีองค์ 5 คือ


1. ปรปริคฺคหิตํ ของที่เจ้าของหวงแหน
2. ปรปริคฺคหิตสญฺญิตา รู้อยู่ว่า เป็นของที่เจ้าของหวงแหน
3. เถยฺยจิตฺตํ จิตคิดลัก
4. อุปกฺกโม พยายามลัก
5. เตน หรณํ ลักมาได้ด้วยความพยายามนั้น
อทินนาทานนั้น มี 6 ประโยค มีสาหัตถิกประโยคเป็นต้นนั่นเอง.
และประโยคเหล่านี้แล เป็นไปด้วยอำนาจอวหารเหล่านี้ คือ
1. เถยยาวหาร ลักโดยการขโมย
2. ปสัยหาวหาร ลักโดยข่มขี่
3. ปฏิจฉันนาวหาร ลักซ่อน
4. ปริกัปปาวหาร ลักโดยกำหนดของ
5. กุสาวหาร ลักโดยสับสลาก
ตามควร. นี้เป็นความย่อในอธิการนี้ ส่วนความพิสดาร ข้าพเจ้ากล่าว
ไว้แล้วในสมันตปาสาทิกาอรรถกถาพระวินัย.
พระสมณโคดม ชื่อว่า ทินนาทายี เพราะถือเอาแต่ของที่เขาให้
เท่านั้น. ชื่อว่า ทินฺนปาฏิกงฺขี เพราะต้องการแต่ของที่เขาให้เท่านั้น
แม้ด้วยจิต. ผู้ที่ชื่อว่าเถนะ เพราะลัก. ผู้ที่ไม่ใช่ขโมย ชื่อว่าอเถนะ.